Beautiful Plants For Your Interior

Tag แม่กลอง

พลิกฟื้นวิถีชีวิตริมคลองอัมพวากับ “นายกเต้ย”

นายกเต้ย นายกเทศบาลตำบลอัมพวา ผู้เกิด เติบโต และทำงานอยู่ในชุมชนอัมพวา ชุมชนที่คึกคักไปด้วยผู้คน และครึกครื้นไปด้วยเรือในลำคลอง เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าทางน้ำในแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

เรื่องเล่าของอัมพวาผ่านคนแจวเรือ

เสน่ห์เรือแจว เพราะว่าคลองอัมพวามีแต่เรือพาย เรือเครื่อง เรือแจวแบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว จะมีของลุงอยู่ลำเดียวในคลองนี้ และคนแจวเรือก็เหลือแต่ลุงคนเดียว

ก้าวตามความฝันของคนอัมพวากับนายกเต้ย

เรามองเห็นว่าเด็กอัมพวายุคนี้ว่ายน้ำไม่เป็น และไม่มีความผูกพันกับสายน้ำ ไม่มีความรักให้กับสายน้ำ ก็เป็นโจทย์ให้เทศบาลคิดว่าจะทำอย่างไร

เรียนรู้อัมพวาที่เปลี่ยนไป ผ่านสายใยของ “รองยะ”

อัมพวาเป็นพื้นที่มีความท้าทายในแง่บริหารจัดการทั้งในมิติเชิงการท่องเที่ยว การใช้สอยทรัพยากรต้นทุน และการดูแลจิตใจของผู้คนที่เติบโตมาในพื้นที่อันเก่าแก่แห่งนี้

วิจัยสายน้ำไปกับ “กึกก้อง” ลูกหลานแม่กลองผู้อยากอยู่ร่วมกับน้ำอย่างมีความสุข

เพราะแม่น้ำลำคลองกับคนแม่กลองแยกกันไม่ขาดฉันใด ลมหายใจและคุณภาพชีวิตของคนแม่กลองก็ขึ้นอยู่กับสายน้ำฉันนั้น

แม่กลอง สมุทรสงคราม

สายน้ำสำคัญทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ขณะเดียวกันคำว่า "แม่กลอง" เสมือนเป็นชื่อเล่นของ จังหวัดสมุทรสงคราม ที่คนในพื้นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

แม่กลองสายน้ำที่โอบอุ้มฝัน

สายน้ำแม่กลองสำหรับขาจรอาจเป็นเพียงสายน้ำแห่งหนึ่งในประเทศ แต่สำหรับชาวสมุทรสงคราม นี่คือสายธารของความทรงจำ และอนาคตที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน

ไม้พาย สายน้ำ และการกลับบ้านของ “กิ๊ง Sweeep SUP House”

“ในวันนึงขอแค่ได้รับแรงกระเพื่อมจากน้ำ เราก็ดีใจแล้ว” หญิงสาวในชุด Wetsuit พูดด้วยรอยยิ้ม ในขณะที่เธอมองไปยังสายน้ำแม่กลองที่กว้างใหญ่ “บางทีการเห็นสายน้ำกว้างๆ ก็เหมือนได้เติมพลังค่ะ” “กิ๊ง” หรือ “นวพร มากู่” หญิงสาวที่เติบโตในอัมพวา แม้เธอจะเรียนมาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่การตัดสินใจมาเปิดธุรกิจพายเรือซับบอร์ดล่องแม่น้ำในชื่อ Sweeep SUP House ที่จังหวัดสมุทรสงครามบ้านเกิดอย่างจริงจัง ก็สร้างความแปลกใจว่า ทำไมเธอจึงเลือกเดินในเส้นทางของสายน้ำและตัดสินใจกลับบ้านแทนที่จะเติบโตเป็นวิศวกรในบริษัทใหญ่โตของเมืองหลวง “เรากลับมาอยู่ที่แม่กลอง ที่บ้านทำธุรกิจค้าขาย แต่พอกลับมาแล้วในคลองไม่มีคลื่นให้เล่นเซิร์ฟเหมือนในทะเล แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็ยังพายซับบอร์ดได้ ก็เลยไปเรียนจริงจัง และมาเปิดเป็นธุรกิจ” จากสาวเซิร์ฟบอร์ดที่ต้องโต้คลื่นทะเลสีครามกลายมาเป็นการพายซับบอร์ดล่องแม่น้ำ แม้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่ได้ลดความท้าทายลงแม้แต่น้อย เพราะสภาพแวดล้อมของแม่น้ำแม่กลองนั้นก็มีความผัวผวนสูง และต้องอาศัยความช่างสังเกตเพื่อเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับสายน้ำ การมีชีวิตติดสายน้ำ สิ่งนี้ช่วยเสริมความหลงใหลต่อธรรมชาติที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิต บวกกับพลังงานที่ล้นเหลือที่กิ๊งอยากจะลงมือทำอะไรบางอย่างร่วมกับชุมชนที่เธอมีความผูกพันธ์ตั้งแต่ครั้นยังเด็ก “เรามองว่าสมุทรสงคราม ไม่ได้เป็นทั้งเมืองอุตสาหกรรมหรือเป็นเมืองพักผ่อนยอดนิยมสำหรับคนไทยขนาดนั้น  เพราะเราอาจจะ ไม่ได้มีทั้งภูเขา ไม่ได้มีเกาะ หาดสวย ๆ หรือทะเลที่มีปะการัง แต่สมุทรสงครามก็ยังมีธรรมชาติที่เคียงคู่กับวิถีชีวิตของผู้คน นี่คือสิ่งที่เรามีและโดดเด่นที่สุด มันคือ วิถีชีวิตริมน้ำ”…

อย่าเอาแค่ปลูก ต้องเรียนรู้ที่จะ “ซ่อมป่า”

ปัญหาคลื่นลม คลื่นทะเล ส่งผลกระทบกับชุมชนริมชายฝั่ง ทั้งความแปรปรวนทางธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และแรงปะทะของคลื่นทะเลที่ซัดอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการกัดเซาะพื้นที่บริเวณริมชายฝั่ง เช่น กรณีของชุมชนบางบ่อ หมู่ 10 จ.สมุทรสงคราม ที่คนในชุมชนได้ประสบกับการกัดเซาะผิวดินซึ่งกินพื้นที่กว้างถึง 30 ไร่ ทำให้ชุมชนต้องอพยพครัวเรือนออกจากพื้นที่ การปลูกป่าชายเลนจึงเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะเป็นแนวกั้นคลื่นลมทางธรรมชาติที่ช่วยลดการกัดเซาะผิวดินได้ จึงเกิดกระแสร่วมกันปลูกป่าชายเลนที่หลายคนอยากเข้ามามีส่วนร่วม และองค์กรต่าง ๆ ก็ยังนิยมจัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม หรือ CSR จนบางครั้งก็เน้นไปที่การสร้างภาพลักษณ์โดยขาดการคำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว เพราะการปลูกต้นโกงกาง หรือแสมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และละเอียดอ่อนกว่าที่คาดคิดไว้ “เรื่องปลูกป่าชายเลนไม่ใช่เรื่องยาก งานหินจริง ๆ คือการซ่อมป่ามากกว่า บางครั้งการทำกิจกรรมปลูกป่าแบบ CSR ที่จัดแล้วจบไป อาจไม่ทำให้เกิดแนวป่าชายเลนใหม่ขึ้นได้จริง ๆ เพราะเมื่อปลูกกันเสร็จแล้ว ถ่ายรูปแล้วแยกย้าย คำถามก็คือใครจะดูแลต้นกล้าเหล่านั้นกันต่อ” เสียงทุ้มต่ำของนักอนุรักษ์ป่าชายเลนที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “ผู้ใหญ่แดง” หรือ วิสูตร นวมศิริ กล่าวขึ้นระหว่างมองแสงแรกในยามเช้าของป่าชายเลน เมื่อประกายแสงอ่อน ๆ อาบผิวกร้านแดด กร้านลมของนักอนุรักษ์แห่งสมุทรสงคราม “หมู่บ้านของเราประสบกับปัญหาการกัดเซาะมานานแล้ว​…