Beautiful Plants For Your Interior
อย่าเอาแค่ปลูก ต้องเรียนรู้ที่จะ “ซ่อมป่า”
ปัญหาคลื่นลม คลื่นทะเล ส่งผลกระทบกับชุมชนริมชายฝั่ง ทั้งความแปรปรวนทางธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และแรงปะทะของคลื่นทะเลที่ซัดอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการกัดเซาะพื้นที่บริเวณริมชายฝั่ง เช่น กรณีของชุมชนบางบ่อ หมู่ 10 จ.สมุทรสงคราม ที่คนในชุมชนได้ประสบกับการกัดเซาะผิวดินซึ่งกินพื้นที่กว้างถึง 30 ไร่ ทำให้ชุมชนต้องอพยพครัวเรือนออกจากพื้นที่ การปลูกป่าชายเลนจึงเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะเป็นแนวกั้นคลื่นลมทางธรรมชาติที่ช่วยลดการกัดเซาะผิวดินได้ จึงเกิดกระแสร่วมกันปลูกป่าชายเลนที่หลายคนอยากเข้ามามีส่วนร่วม และองค์กรต่าง ๆ ก็ยังนิยมจัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม หรือ CSR จนบางครั้งก็เน้นไปที่การสร้างภาพลักษณ์โดยขาดการคำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว เพราะการปลูกต้นโกงกาง หรือแสมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และละเอียดอ่อนกว่าที่คาดคิดไว้ “เรื่องปลูกป่าชายเลนไม่ใช่เรื่องยาก งานหินจริง ๆ คือการซ่อมป่ามากกว่า บางครั้งการทำกิจกรรมปลูกป่าแบบ CSR ที่จัดแล้วจบไป อาจไม่ทำให้เกิดแนวป่าชายเลนใหม่ขึ้นได้จริง ๆ เพราะเมื่อปลูกกันเสร็จแล้ว ถ่ายรูปแล้วแยกย้าย คำถามก็คือใครจะดูแลต้นกล้าเหล่านั้นกันต่อ” เสียงทุ้มต่ำของนักอนุรักษ์ป่าชายเลนที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “ผู้ใหญ่แดง” หรือ วิสูตร นวมศิริ กล่าวขึ้นระหว่างมองแสงแรกในยามเช้าของป่าชายเลน เมื่อประกายแสงอ่อน ๆ อาบผิวกร้านแดด กร้านลมของนักอนุรักษ์แห่งสมุทรสงคราม “หมู่บ้านของเราประสบกับปัญหาการกัดเซาะมานานแล้ว…