Beautiful Plants For Your Interior

Category Brief

ทะเลบัวแดง Unseen เมืองอุดรธานี

ฤดูการท่องเที่ยว ทะเลบัวแดง Unseen เมืองอุดรธานี เริ่มแล้วนะคะ ฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม ของทุกปี เป็นช่วงที่เหมาะที่สุดในการล่องเรือชมความงามของดอกบัวแดง หรือบัวสายที่โผล่พ้นน้ำขึ้นขึ้นมาค่ะ River & Me มีโอกาสไปเก็บภาพทะเลบัวแดงสวย ๆ มาฝาก เราไปขึ้นเรือที่ท่าเรือบ้านเดียม กันตั้งแต่ 7 โมงเช้า พอเรือแล่นออกจากท่า ก็จะเห็นนกหลากหลายชนิด ทั้งนกอีโก้ง เหยี่ยว นกเป็ดผีเล็ก ฯลฯ จากนั้นเพียงแค่ 10 นาที เราก็ถึงทะเลบัวแดงบานอวดโฉมให้ชื่นชมสุดลูกหูลูกตา คุณลุงคนขับเรือ ณ ท่าเรือบ้านเดียม เล่าให้ฟังว่า ทะเลบัวแดงเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว หลังจากที่มีการสร้างคันคลองบริเวณหนองหาน เมื่อมีบัวแดงเกิดขึ้นคนในชุมชนที่ปกติมีอาชีพประมงพื้นบ้าน ก็หันมามีอาชีพเสริมก็คือขับเรือพานักท่องเที่ยวมาชมความงามของบัวแดง คุณลุงคนขับเรือยังเล่าติดตลกอีกว่า “ช่วงที่นักท่องเที่ยวมาเยอะ ๆ ตอนเดือนธันวาคม ไม่ได้กินข้าวเลย เพระขับเรือทั้งวัน” เมื่อมีนักท่องเที่ยวมาเยอะขึ้น ชุมชนมีการรวมกลุ่ม พูดคุยและสร้างข้อตกลงร่วมกันว่า…

Mar Menor

ยกสถานะทะเลสาบให้เป็น “บุคคล”

ยกสถานะทะเลสาบให้เป็น “บุคคล”ครั้งแรกในยุโรปที่กฎหมายยกระดับทะเลสาบให้มีสถานะเทียบเท่าบุคคล กฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ก้าวหน้าไปอีกขั้นในยุโรป และถือเป็นครั้งแรกที่กฎหมายสามารถมอบสถานะทะเลสาบน้ำเค็มให้มีสถานะเทียบเท่าบุคคล ในประเทศสเปนมีทะเลสาบน้ำเค็มสำคัญ ชื่อ Mar Menor ถือเป็นแหล่งรักษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ทะเลไว้มากมาย ทั้งหอยแมลงภู่ใบพัด และบรรดาหอยสองฝาที่มีขนาดยาวเกือบเมตร สัตว์เหล่านี้ถือเป็นสัตว์ที่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์และมีเฉพาะถิ่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม Mar Menor เป็นพื้นที่มีความเปราะบางมาก ช่วงปี 2016 ทะเลสาบแห่งนี้เกิดปรากฏการณ์สาหร่ายบูม และมีการปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ทำการเกษตร ทำให้สัตว์น้ำกว่า 98% ตายเกลื่อนอย่างน่าเสียดาย นอกจากจะสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ยังส่งผลต่อจิตใจชาวเมืองเป็นอย่างมาก หากไม่ลุกขึ้นมาเรียกร้องอะไร Mar Menor ก็อาจจะเป็นสุสานทางทะเลที่ไร้สรรพชีวิต การเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์ขับเคลื่อนด้วยนักวิชาการร่วมกับคนในชุมชน โดยการร่วมลงรายชื่อเพื่อเสนอให้มีการร่างกฏหมายยกให้พื้นที่ทะเลสาบน้ำเค็ม 135 ตารางกิโลเมตร ให้มีสถานะเป็นบุคคล (personhood) กระแสตอบรับดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีชาวสเปนลงชื่อว่า 640,000 คน แม้ Mar Menor จะได้รับสถานะเป็นบุคคล แต่ในเชิงกฎหมายก็ไม่ได้เทียบเท่ากับสิทธิของมนุษย์จริง ๆ แต่มีรายละเอียดที่น่าสนใจคือ ระบบนิเวศของทะเลสาบแห่งนี้จะได้รับปกป้องให้ดำรงอยู่ มีวิวัตนาการ และได้รับการฟื้นฟูเสมือนเป็นบุคคลหนึ่ง…

Pomelo Run

วิ่งที่ไหน ก็ไม่เหมือนกัน

วิ่งที่ไหน ก็ไม่เหมือนกันเมื่อชุมชนลงขัน จัดงานวิ่งในสวนส้มโอ ขาวิ่งหลายคน น่าจะเคยผ่านมาแล้วหลายสนาม แต่เชื่อเลยครับว่าหากได้ลองมาสัมผัสกับสนามวิ่งแห่งนี้ อาจจะได้ลิ้มลองรสชาติการวิ่งที่หาไม่ได้จากสนามไหน เพราะเป็นงานที่คนใจใหญ่ จากชุมชนเล็ก ๆ ที่ ต.บางสะแก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ระดมพลกันจัดงานวิ่งขึ้นมาในชื่อ พอเมโล รัน (Pomelo Run) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เสน่ห์ของงานเป็นการจัดงานโดยคนในชุมชนจริง ๆ แบบไม่ต้องพึ่งออแกไนเซอร์ ทำให้การจัดงานวิ่งครั้งนี้เป็นความต้องการจากคนในชุมชนจริง ๆ ขาวิ่งทั้งหลายจะได้พบกับเสน่ห์ของงานวิ่งที่มีกลิ่นอายของภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ผ่านตามเส้นทางวิ่งในสวนส้มโอ วิ่งไปพร้อมกับความรื่นรมย์ของธรรมชาติ 2 ข้างทาง และยังได้ลิ้มรสส้มโออร่อยแบบไม่อั้น จากสวนที่บางสะแก กันแบบสด ๆ อีกด้วย ด้วยความที่ชุมชนเป็นแม่งานใหญ่ มีหรือที่จะพลาดของกินที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น งานนี้ผู้เฒ่าผู้แก่เตรียมเปิดครัวต้อนรับนักวิ่งทั้งหลาย ด้วยขนมรุม-ขนมวง ขนมโบราณประจำท้องถิ่นจากฝีมือต้นตำหรับ นอกจากนี้ชุมชนยังจัดเมนูอาหารและขนมอื่น ๆ เตรียมเสริฟนักวิ่งกันแบบฟรี ๆ ตลอดเส้นทาง…

โตนเลสาบ

โตนเลสาบ น้ำลดและน้ำหลาก

วันนี้เรามาส่องเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ นั่นคือ “ประเทศกัมพูชา” กันนะคะ กัมพูชามีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของประเทศ รู้จักกันในนาม ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ ที่นี่มีลักษณะระบบนิเวศพิเศษมาก หาไม่ได้ในพื้นที่อื่นของโลก เพราะเมื่อช่วงแล้ง ทะเลสาบแห่งนี้จะมีพื้นที่เพียง 2,500 ตารางกิโลเมตร ความลึกของน้ำไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น แต่เมื่อถึงช่วงน้ำหลาก ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พื้นที่ทะเลสาบจะขยายไปมากถึง 15,000 ตารางกิโลเมตร และน้ำลึกถึง 11 เมตร เมื่อเราลองเปรียบเทียบเชิงพื้นที่ จะพบว่าทะเลสาบขยายพื้นที่จากเดิมมากถึง 6 เท่า และลึกกว่าเดิม 5 เท่าเลยทีเดียว สาเหตุที่การขึ้น-ลงของน้ำแตกต่างกันมากในแต่ละช่วงปีนั้น มาจากอิทธิพลของแม่น้ำโขงที่ไหลบ่ามายังพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ในกัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เมื่อพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบปีจากพื้นที่แห้ง ๆ กลายเป็นทะเลสาบ ทำให้โตนเลสาบในฤดูน้ำหลากแปรสภาพเป็นแหล่งที่มีปลาน้ำจืดชุกชุม…

น้ำลดหอยผุด โมงยามที่คนกับธรรมชาติมาบรรจบกัน

นั่นคือเสียงของชาวประมงพื้นบ้านที่บอกเล่าถึงวิถีชีวิต ที่ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่ซึ่งคนในท้องถิ่นกับธรรมชาติได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อถึงโมงยามมหัศจรรย์ของธรรมาติ ได้เปลี่ยนให้น้ำทะเลที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา พลันกลายเป็นโคลนเลนในเพียงระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ฝีเท้าชาวบ้านนับสิบคู่ ต่างพากันลงไปเดินย่ำโคลนเลน เพื่อขุดหอยนำกลับไปทำอาหาร บ้างก็ขุดกันจนเป็นอาชีพหลัก การออกไปเก็บหอยที่ดอนหอยหลอด ชาวบ้านเล่าให้ฟังต่อว่าต้องศึกษาเรื่องน้ำขึ้น น้ำลงก่อน อย่างที่ตำบลบางจะเกร็ง จะมีการบอกตารางเวลาของน้ำที่ชัดเจน เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือผู้คนที่สนใจอยากลองขุดหอย ได้วางแผนเรื่องเวลาได้ เนื่องจากเวลาขึ้นลงของน้ำจะแตกต่างกันในแต่ละวัน โดยส่วนใหญ่ระดับน้ำทะเลจะลงในช่วงเวลาประมาณ 6.00 – 9.00 น. และน้ำมักจะขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาประมาณ 15.00 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะต้องจับตาดูแบบวันต่อวัน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมาเก็บหอยที่ดอนหอยหลอด คือช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น ศาสตร์ลับของการจับหอย ผู้คนที่ลงไปยังทะเลโคลน ต้องติดอาวุธประจำกายหลักๆ คือ ถัง และพลั่วขนาดเล็ก จากนั้นเมื่อได้จุดยุทธศาสตร์ รวบรวมปลายนิ้วทั้ง 4 ผสานเข้าหากันและกดลงไปบนพื้นทราย หากมีน้ำพุ่งออกมาจากทราย ให้รีบใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดเท่าก้านธูปจุ่มปูนขาวแล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด ซึ่งจะทำให้หอยที่อยู่ในรูเกิดอาการเมาปูนจนโผล่ขึ้นมา เมื่อจับหอยขึ้นมาแล้วควรรีบเก็บใส่ภาชนะไว้ ไม่เช่นนั้นหอยหลอดจะมุดดินหนีอยู่ลึกลงไปกว่าเดิมอีก…

บางสะแก ลงแขก ลงคลอง

“ถึงแดดจะร้อนนิดหน่อย แต่ทุกคนก็ยิ้มแย้มกันลงคลอง” นี่คือบรรยากาศกิจกรรม “ลงแขก ลงคลอง” ที่ชุมชนบางสะแก คลองบางน้ำผึ้ง จ.สมุทรสงคราม กำลังร่วมใจกันดูแลเส้นทางน้ำของ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ลงมือลงแรงกันคึกคัก ช่วยกันเก็บเกี่ยววัชพืช รวมถึงเศษกิ่งไม้ และพืชต่าง ๆ ที่ทับถมใต้ท้องน้ำจนกีดขวางทางน้ำในลำประโดง เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา กำนันมนัส บุญพยุง ตำบลบางสะแก ผู้ใหญ่ใจดีแห่งตำบลบางสะแก เล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเองว่ากิจกรรมที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้นมานี้ เราอยากจะให้ชุมชน และคนจากภายนอกเห็นความสำคัญของลำประโดง หรือลำน้ำขนาดเล็ก แม้จะเป็นทางน้ำผ่านเล็ก ๆ แตกย่อยมาจากลำคลองไหลเวียนเข้ามายังร่องสวน ก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยสำคัญที่หล่อเลี้ยงทั้งพืชพรรณ สัตว์น้ำ และอาชีพของชุมชน แถมลำประโดงก็มักจะอุดตันได้ง่าย เมื่อไหร่ที่การไหลเวียนน้ำหยุดชะงัก ส้มโอและพืชพรรณต่างที่ต้องพึ่งพิงน้ำสะอาดก็จะพากันมีปัญหาได้ และที่สำคัญทางน้ำเล็ก ๆ นี้ จะเอาเครื่องมือเครื่องจักรมาช่วยก็เข้าถึงได้ไม่สะดวก การรักษาความสะอาดจึงต้องพึ่งกำลังคนเป็นหลัก กิจกรรมลงแขก ลงคลอง เป็นหนึ่งในความตั้งใจที่อยากให้ผู้คนกลับมาดูแลรักษาสายน้ำของชาวบางสะแก อย่างกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักเรียนและอาจารย์ โรงเรียนถาวรานุกูล มาขอร่วมลงแขกเก็บเศษซากไม้ วัชพืช และผักตบชวาที่ปิดกั้นทางน้ำไหล…