Beautiful Plants For Your Interior

Category Article

โตนเลสาบ

โตนเลสาบ น้ำลดและน้ำหลาก

วันนี้เรามาส่องเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ นั่นคือ “ประเทศกัมพูชา” กันนะคะ กัมพูชามีทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของประเทศ รู้จักกันในนาม ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ ที่นี่มีลักษณะระบบนิเวศพิเศษมาก หาไม่ได้ในพื้นที่อื่นของโลก เพราะเมื่อช่วงแล้ง ทะเลสาบแห่งนี้จะมีพื้นที่เพียง 2,500 ตารางกิโลเมตร ความลึกของน้ำไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น แต่เมื่อถึงช่วงน้ำหลาก ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พื้นที่ทะเลสาบจะขยายไปมากถึง 15,000 ตารางกิโลเมตร และน้ำลึกถึง 11 เมตร เมื่อเราลองเปรียบเทียบเชิงพื้นที่ จะพบว่าทะเลสาบขยายพื้นที่จากเดิมมากถึง 6 เท่า และลึกกว่าเดิม 5 เท่าเลยทีเดียว สาเหตุที่การขึ้น-ลงของน้ำแตกต่างกันมากในแต่ละช่วงปีนั้น มาจากอิทธิพลของแม่น้ำโขงที่ไหลบ่ามายังพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ในกัมพูชา ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เมื่อพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบปีจากพื้นที่แห้ง ๆ กลายเป็นทะเลสาบ ทำให้โตนเลสาบในฤดูน้ำหลากแปรสภาพเป็นแหล่งที่มีปลาน้ำจืดชุกชุม…

น้ำลดหอยผุด โมงยามที่คนกับธรรมชาติมาบรรจบกัน

นั่นคือเสียงของชาวประมงพื้นบ้านที่บอกเล่าถึงวิถีชีวิต ที่ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่ซึ่งคนในท้องถิ่นกับธรรมชาติได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อถึงโมงยามมหัศจรรย์ของธรรมาติ ได้เปลี่ยนให้น้ำทะเลที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา พลันกลายเป็นโคลนเลนในเพียงระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ฝีเท้าชาวบ้านนับสิบคู่ ต่างพากันลงไปเดินย่ำโคลนเลน เพื่อขุดหอยนำกลับไปทำอาหาร บ้างก็ขุดกันจนเป็นอาชีพหลัก การออกไปเก็บหอยที่ดอนหอยหลอด ชาวบ้านเล่าให้ฟังต่อว่าต้องศึกษาเรื่องน้ำขึ้น น้ำลงก่อน อย่างที่ตำบลบางจะเกร็ง จะมีการบอกตารางเวลาของน้ำที่ชัดเจน เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือผู้คนที่สนใจอยากลองขุดหอย ได้วางแผนเรื่องเวลาได้ เนื่องจากเวลาขึ้นลงของน้ำจะแตกต่างกันในแต่ละวัน โดยส่วนใหญ่ระดับน้ำทะเลจะลงในช่วงเวลาประมาณ 6.00 – 9.00 น. และน้ำมักจะขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาประมาณ 15.00 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะต้องจับตาดูแบบวันต่อวัน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมาเก็บหอยที่ดอนหอยหลอด คือช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น ศาสตร์ลับของการจับหอย ผู้คนที่ลงไปยังทะเลโคลน ต้องติดอาวุธประจำกายหลักๆ คือ ถัง และพลั่วขนาดเล็ก จากนั้นเมื่อได้จุดยุทธศาสตร์ รวบรวมปลายนิ้วทั้ง 4 ผสานเข้าหากันและกดลงไปบนพื้นทราย หากมีน้ำพุ่งออกมาจากทราย ให้รีบใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดเท่าก้านธูปจุ่มปูนขาวแล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด ซึ่งจะทำให้หอยที่อยู่ในรูเกิดอาการเมาปูนจนโผล่ขึ้นมา เมื่อจับหอยขึ้นมาแล้วควรรีบเก็บใส่ภาชนะไว้ ไม่เช่นนั้นหอยหลอดจะมุดดินหนีอยู่ลึกลงไปกว่าเดิมอีก…

wetland 3

ท่วมช้ำ-ท่วมซ้ำ หรือเมืองมองข้าม “พื้นที่ชุ่มน้ำ”?

ท่วมช้ำ-ท่วมซ้ำ หรือเมืองมองข้าม “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ?มองพื้นที่ชุ่มน้ำของจีน เน้นให้คนเรียนรู้ อยู่กับน้ำท่วมอย่างยั่งยืน การขยายตัวของเมืองทั่วโลก แน่นอนว่ามักจะนำมาสู่โอกาสมากมายให้กับคนในพื้นที่ แต่อีกนัยหนึ่งความเจริญก็ได้เข้ามาบดบังและกลืนกินพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเปรียบเสมือนพื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone) ที่คอยโอบอุ้มเหล่าสรรพชีวิตในระบบนิเวศและคอยรับปริมาณฝนที่เทถล่มลงมา อย่างประเทศไทยเอง “ฝนตกหนัก พายุเข้า และ น้ำท่วม” เป็นวงจรซ้ำ ๆ ที่ทำเอาหลายคนกุมขมับ เมื่อไทยกลเข้าสู่ฤดูฝน ผู้คนที่อาศัยตามพื้นลุ่มน้ำ และพื้นที่ท้ายเขื่อน แทบจะต้องกลายเป็นผู้ประสบอุทกภัยทันทีเมื่อฝนเทกระหน่ำลงมาติดต่อกัน และเมื่อตัดภาพมาที่กรุงเทพฯ ก็อ่วมไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในวันที่ฝนราชการมาเยือน หรือฝนที่มักตกในช่วงเวลาหลังเลิกงาน ทำให้ถนนหลายสายกลายเป็นคลองขนาดย่อม การจราจรกลายเป็นอัมพาต ผู้คนที่ใช้ขนส่งสาธารณะสภาพไม่ต่างจากผู้ประสบอุกภัยเลยทีเดียว เหตุการณ์เหล่านี้เป็นภาพชินตาของพวกเราทุกคน แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จะลงพื้นที่รื้อท่อ ลอกคูคลองกำจัดขยะ ไปจนวางแผนบริหารจัดการน้ำในภาพใหญ่ เพื่อหาทางระบายน้ำออกจากสิ่งที่กีดขวางทางน้ำ แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบจากน้ำท่วมก็คือ #พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) เนื่องจากเป็นแหล่งกักเก็บน้ำฝนและน้ำท่าอีกทั้งยังเป็นแหล่งทรัพยากรและที่อยู่อาศัยของเหล่าพันธุ์พืชและสัตว์ ช่วยดักจับตะกอนและสารพิษ ซึ่งทางเว็บไซต์ Wetlands ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่าปัจจุบันไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมด 131…

ไม้พาย สายน้ำ และการกลับบ้านของ “กิ๊ง Sweeep SUP House”

“ในวันนึงขอแค่ได้รับแรงกระเพื่อมจากน้ำ เราก็ดีใจแล้ว” หญิงสาวในชุด Wetsuit พูดด้วยรอยยิ้ม ในขณะที่เธอมองไปยังสายน้ำแม่กลองที่กว้างใหญ่ “บางทีการเห็นสายน้ำกว้างๆ ก็เหมือนได้เติมพลังค่ะ” “กิ๊ง” หรือ “นวพร มากู่” หญิงสาวที่เติบโตในอัมพวา แม้เธอจะเรียนมาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่การตัดสินใจมาเปิดธุรกิจพายเรือซับบอร์ดล่องแม่น้ำในชื่อ Sweeep SUP House ที่จังหวัดสมุทรสงครามบ้านเกิดอย่างจริงจัง ก็สร้างความแปลกใจว่า ทำไมเธอจึงเลือกเดินในเส้นทางของสายน้ำและตัดสินใจกลับบ้านแทนที่จะเติบโตเป็นวิศวกรในบริษัทใหญ่โตของเมืองหลวง “เรากลับมาอยู่ที่แม่กลอง ที่บ้านทำธุรกิจค้าขาย แต่พอกลับมาแล้วในคลองไม่มีคลื่นให้เล่นเซิร์ฟเหมือนในทะเล แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็ยังพายซับบอร์ดได้ ก็เลยไปเรียนจริงจัง และมาเปิดเป็นธุรกิจ” จากสาวเซิร์ฟบอร์ดที่ต้องโต้คลื่นทะเลสีครามกลายมาเป็นการพายซับบอร์ดล่องแม่น้ำ แม้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่ได้ลดความท้าทายลงแม้แต่น้อย เพราะสภาพแวดล้อมของแม่น้ำแม่กลองนั้นก็มีความผัวผวนสูง และต้องอาศัยความช่างสังเกตเพื่อเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับสายน้ำ การมีชีวิตติดสายน้ำ สิ่งนี้ช่วยเสริมความหลงใหลต่อธรรมชาติที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิต บวกกับพลังงานที่ล้นเหลือที่กิ๊งอยากจะลงมือทำอะไรบางอย่างร่วมกับชุมชนที่เธอมีความผูกพันธ์ตั้งแต่ครั้นยังเด็ก “เรามองว่าสมุทรสงคราม ไม่ได้เป็นทั้งเมืองอุตสาหกรรมหรือเป็นเมืองพักผ่อนยอดนิยมสำหรับคนไทยขนาดนั้น  เพราะเราอาจจะ ไม่ได้มีทั้งภูเขา ไม่ได้มีเกาะ หาดสวย ๆ หรือทะเลที่มีปะการัง แต่สมุทรสงครามก็ยังมีธรรมชาติที่เคียงคู่กับวิถีชีวิตของผู้คน นี่คือสิ่งที่เรามีและโดดเด่นที่สุด มันคือ วิถีชีวิตริมน้ำ”…

อย่าเอาแค่ปลูก ต้องเรียนรู้ที่จะ “ซ่อมป่า”

ปัญหาคลื่นลม คลื่นทะเล ส่งผลกระทบกับชุมชนริมชายฝั่ง ทั้งความแปรปรวนทางธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และแรงปะทะของคลื่นทะเลที่ซัดอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการกัดเซาะพื้นที่บริเวณริมชายฝั่ง เช่น กรณีของชุมชนบางบ่อ หมู่ 10 จ.สมุทรสงคราม ที่คนในชุมชนได้ประสบกับการกัดเซาะผิวดินซึ่งกินพื้นที่กว้างถึง 30 ไร่ ทำให้ชุมชนต้องอพยพครัวเรือนออกจากพื้นที่ การปลูกป่าชายเลนจึงเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะเป็นแนวกั้นคลื่นลมทางธรรมชาติที่ช่วยลดการกัดเซาะผิวดินได้ จึงเกิดกระแสร่วมกันปลูกป่าชายเลนที่หลายคนอยากเข้ามามีส่วนร่วม และองค์กรต่าง ๆ ก็ยังนิยมจัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคม หรือ CSR จนบางครั้งก็เน้นไปที่การสร้างภาพลักษณ์โดยขาดการคำนึงถึงผลลัพธ์ในระยะยาว เพราะการปลูกต้นโกงกาง หรือแสมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และละเอียดอ่อนกว่าที่คาดคิดไว้ “เรื่องปลูกป่าชายเลนไม่ใช่เรื่องยาก งานหินจริง ๆ คือการซ่อมป่ามากกว่า บางครั้งการทำกิจกรรมปลูกป่าแบบ CSR ที่จัดแล้วจบไป อาจไม่ทำให้เกิดแนวป่าชายเลนใหม่ขึ้นได้จริง ๆ เพราะเมื่อปลูกกันเสร็จแล้ว ถ่ายรูปแล้วแยกย้าย คำถามก็คือใครจะดูแลต้นกล้าเหล่านั้นกันต่อ” เสียงทุ้มต่ำของนักอนุรักษ์ป่าชายเลนที่ชาวบ้านเรียกขานว่า “ผู้ใหญ่แดง” หรือ วิสูตร นวมศิริ กล่าวขึ้นระหว่างมองแสงแรกในยามเช้าของป่าชายเลน เมื่อประกายแสงอ่อน ๆ อาบผิวกร้านแดด กร้านลมของนักอนุรักษ์แห่งสมุทรสงคราม “หมู่บ้านของเราประสบกับปัญหาการกัดเซาะมานานแล้ว​…

บางสะแก ลงแขก ลงคลอง

“ถึงแดดจะร้อนนิดหน่อย แต่ทุกคนก็ยิ้มแย้มกันลงคลอง” นี่คือบรรยากาศกิจกรรม “ลงแขก ลงคลอง” ที่ชุมชนบางสะแก คลองบางน้ำผึ้ง จ.สมุทรสงคราม กำลังร่วมใจกันดูแลเส้นทางน้ำของ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ลงมือลงแรงกันคึกคัก ช่วยกันเก็บเกี่ยววัชพืช รวมถึงเศษกิ่งไม้ และพืชต่าง ๆ ที่ทับถมใต้ท้องน้ำจนกีดขวางทางน้ำในลำประโดง เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา กำนันมนัส บุญพยุง ตำบลบางสะแก ผู้ใหญ่ใจดีแห่งตำบลบางสะแก เล่าให้ฟังอย่างเป็นกันเองว่ากิจกรรมที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้นมานี้ เราอยากจะให้ชุมชน และคนจากภายนอกเห็นความสำคัญของลำประโดง หรือลำน้ำขนาดเล็ก แม้จะเป็นทางน้ำผ่านเล็ก ๆ แตกย่อยมาจากลำคลองไหลเวียนเข้ามายังร่องสวน ก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยสำคัญที่หล่อเลี้ยงทั้งพืชพรรณ สัตว์น้ำ และอาชีพของชุมชน แถมลำประโดงก็มักจะอุดตันได้ง่าย เมื่อไหร่ที่การไหลเวียนน้ำหยุดชะงัก ส้มโอและพืชพรรณต่างที่ต้องพึ่งพิงน้ำสะอาดก็จะพากันมีปัญหาได้ และที่สำคัญทางน้ำเล็ก ๆ นี้ จะเอาเครื่องมือเครื่องจักรมาช่วยก็เข้าถึงได้ไม่สะดวก การรักษาความสะอาดจึงต้องพึ่งกำลังคนเป็นหลัก กิจกรรมลงแขก ลงคลอง เป็นหนึ่งในความตั้งใจที่อยากให้ผู้คนกลับมาดูแลรักษาสายน้ำของชาวบางสะแก อย่างกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักเรียนและอาจารย์ โรงเรียนถาวรานุกูล มาขอร่วมลงแขกเก็บเศษซากไม้ วัชพืช และผักตบชวาที่ปิดกั้นทางน้ำไหล…