Beautiful Plants For Your Interior

Tag สมุทรสงคราม

พลิกฟื้นวิถีชีวิตริมคลองอัมพวากับ “นายกเต้ย”

นายกเต้ย นายกเทศบาลตำบลอัมพวา ผู้เกิด เติบโต และทำงานอยู่ในชุมชนอัมพวา ชุมชนที่คึกคักไปด้วยผู้คน และครึกครื้นไปด้วยเรือในลำคลอง เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าทางน้ำในแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

เรื่องเล่าของอัมพวาผ่านคนแจวเรือ

เสน่ห์เรือแจว เพราะว่าคลองอัมพวามีแต่เรือพาย เรือเครื่อง เรือแจวแบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว จะมีของลุงอยู่ลำเดียวในคลองนี้ และคนแจวเรือก็เหลือแต่ลุงคนเดียว

ก้าวตามความฝันของคนอัมพวากับนายกเต้ย

เรามองเห็นว่าเด็กอัมพวายุคนี้ว่ายน้ำไม่เป็น และไม่มีความผูกพันกับสายน้ำ ไม่มีความรักให้กับสายน้ำ ก็เป็นโจทย์ให้เทศบาลคิดว่าจะทำอย่างไร

เรียนรู้อัมพวาที่เปลี่ยนไป ผ่านสายใยของ “รองยะ”

อัมพวาเป็นพื้นที่มีความท้าทายในแง่บริหารจัดการทั้งในมิติเชิงการท่องเที่ยว การใช้สอยทรัพยากรต้นทุน และการดูแลจิตใจของผู้คนที่เติบโตมาในพื้นที่อันเก่าแก่แห่งนี้

วิจัยสายน้ำไปกับ “กึกก้อง” ลูกหลานแม่กลองผู้อยากอยู่ร่วมกับน้ำอย่างมีความสุข

เพราะแม่น้ำลำคลองกับคนแม่กลองแยกกันไม่ขาดฉันใด ลมหายใจและคุณภาพชีวิตของคนแม่กลองก็ขึ้นอยู่กับสายน้ำฉันนั้น

แม่กลอง สมุทรสงคราม

สายน้ำสำคัญทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ขณะเดียวกันคำว่า "แม่กลอง" เสมือนเป็นชื่อเล่นของ จังหวัดสมุทรสงคราม ที่คนในพื้นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

แม่กลองสายน้ำที่โอบอุ้มฝัน

สายน้ำแม่กลองสำหรับขาจรอาจเป็นเพียงสายน้ำแห่งหนึ่งในประเทศ แต่สำหรับชาวสมุทรสงคราม นี่คือสายธารของความทรงจำ และอนาคตที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน
Pomelo Run

วิ่งที่ไหน ก็ไม่เหมือนกัน

วิ่งที่ไหน ก็ไม่เหมือนกันเมื่อชุมชนลงขัน จัดงานวิ่งในสวนส้มโอ ขาวิ่งหลายคน น่าจะเคยผ่านมาแล้วหลายสนาม แต่เชื่อเลยครับว่าหากได้ลองมาสัมผัสกับสนามวิ่งแห่งนี้ อาจจะได้ลิ้มลองรสชาติการวิ่งที่หาไม่ได้จากสนามไหน เพราะเป็นงานที่คนใจใหญ่ จากชุมชนเล็ก ๆ ที่ ต.บางสะแก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ระดมพลกันจัดงานวิ่งขึ้นมาในชื่อ พอเมโล รัน (Pomelo Run) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เสน่ห์ของงานเป็นการจัดงานโดยคนในชุมชนจริง ๆ แบบไม่ต้องพึ่งออแกไนเซอร์ ทำให้การจัดงานวิ่งครั้งนี้เป็นความต้องการจากคนในชุมชนจริง ๆ ขาวิ่งทั้งหลายจะได้พบกับเสน่ห์ของงานวิ่งที่มีกลิ่นอายของภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ผ่านตามเส้นทางวิ่งในสวนส้มโอ วิ่งไปพร้อมกับความรื่นรมย์ของธรรมชาติ 2 ข้างทาง และยังได้ลิ้มรสส้มโออร่อยแบบไม่อั้น จากสวนที่บางสะแก กันแบบสด ๆ อีกด้วย ด้วยความที่ชุมชนเป็นแม่งานใหญ่ มีหรือที่จะพลาดของกินที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น งานนี้ผู้เฒ่าผู้แก่เตรียมเปิดครัวต้อนรับนักวิ่งทั้งหลาย ด้วยขนมรุม-ขนมวง ขนมโบราณประจำท้องถิ่นจากฝีมือต้นตำหรับ นอกจากนี้ชุมชนยังจัดเมนูอาหารและขนมอื่น ๆ เตรียมเสริฟนักวิ่งกันแบบฟรี ๆ ตลอดเส้นทาง…

น้ำลดหอยผุด โมงยามที่คนกับธรรมชาติมาบรรจบกัน

นั่นคือเสียงของชาวประมงพื้นบ้านที่บอกเล่าถึงวิถีชีวิต ที่ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่ซึ่งคนในท้องถิ่นกับธรรมชาติได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อถึงโมงยามมหัศจรรย์ของธรรมาติ ได้เปลี่ยนให้น้ำทะเลที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา พลันกลายเป็นโคลนเลนในเพียงระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ฝีเท้าชาวบ้านนับสิบคู่ ต่างพากันลงไปเดินย่ำโคลนเลน เพื่อขุดหอยนำกลับไปทำอาหาร บ้างก็ขุดกันจนเป็นอาชีพหลัก การออกไปเก็บหอยที่ดอนหอยหลอด ชาวบ้านเล่าให้ฟังต่อว่าต้องศึกษาเรื่องน้ำขึ้น น้ำลงก่อน อย่างที่ตำบลบางจะเกร็ง จะมีการบอกตารางเวลาของน้ำที่ชัดเจน เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือผู้คนที่สนใจอยากลองขุดหอย ได้วางแผนเรื่องเวลาได้ เนื่องจากเวลาขึ้นลงของน้ำจะแตกต่างกันในแต่ละวัน โดยส่วนใหญ่ระดับน้ำทะเลจะลงในช่วงเวลาประมาณ 6.00 – 9.00 น. และน้ำมักจะขึ้นอีกครั้งในช่วงเวลาประมาณ 15.00 เป็นต้นไป ทั้งนี้จะต้องจับตาดูแบบวันต่อวัน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมาเก็บหอยที่ดอนหอยหลอด คือช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม เพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น ศาสตร์ลับของการจับหอย ผู้คนที่ลงไปยังทะเลโคลน ต้องติดอาวุธประจำกายหลักๆ คือ ถัง และพลั่วขนาดเล็ก จากนั้นเมื่อได้จุดยุทธศาสตร์ รวบรวมปลายนิ้วทั้ง 4 ผสานเข้าหากันและกดลงไปบนพื้นทราย หากมีน้ำพุ่งออกมาจากทราย ให้รีบใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดเท่าก้านธูปจุ่มปูนขาวแล้วแทงลงไปในรูหอยหลอด ซึ่งจะทำให้หอยที่อยู่ในรูเกิดอาการเมาปูนจนโผล่ขึ้นมา เมื่อจับหอยขึ้นมาแล้วควรรีบเก็บใส่ภาชนะไว้ ไม่เช่นนั้นหอยหลอดจะมุดดินหนีอยู่ลึกลงไปกว่าเดิมอีก…

ไม้พาย สายน้ำ และการกลับบ้านของ “กิ๊ง Sweeep SUP House”

“ในวันนึงขอแค่ได้รับแรงกระเพื่อมจากน้ำ เราก็ดีใจแล้ว” หญิงสาวในชุด Wetsuit พูดด้วยรอยยิ้ม ในขณะที่เธอมองไปยังสายน้ำแม่กลองที่กว้างใหญ่ “บางทีการเห็นสายน้ำกว้างๆ ก็เหมือนได้เติมพลังค่ะ” “กิ๊ง” หรือ “นวพร มากู่” หญิงสาวที่เติบโตในอัมพวา แม้เธอจะเรียนมาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่การตัดสินใจมาเปิดธุรกิจพายเรือซับบอร์ดล่องแม่น้ำในชื่อ Sweeep SUP House ที่จังหวัดสมุทรสงครามบ้านเกิดอย่างจริงจัง ก็สร้างความแปลกใจว่า ทำไมเธอจึงเลือกเดินในเส้นทางของสายน้ำและตัดสินใจกลับบ้านแทนที่จะเติบโตเป็นวิศวกรในบริษัทใหญ่โตของเมืองหลวง “เรากลับมาอยู่ที่แม่กลอง ที่บ้านทำธุรกิจค้าขาย แต่พอกลับมาแล้วในคลองไม่มีคลื่นให้เล่นเซิร์ฟเหมือนในทะเล แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็ยังพายซับบอร์ดได้ ก็เลยไปเรียนจริงจัง และมาเปิดเป็นธุรกิจ” จากสาวเซิร์ฟบอร์ดที่ต้องโต้คลื่นทะเลสีครามกลายมาเป็นการพายซับบอร์ดล่องแม่น้ำ แม้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป แต่ก็ไม่ได้ลดความท้าทายลงแม้แต่น้อย เพราะสภาพแวดล้อมของแม่น้ำแม่กลองนั้นก็มีความผัวผวนสูง และต้องอาศัยความช่างสังเกตเพื่อเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับสายน้ำ การมีชีวิตติดสายน้ำ สิ่งนี้ช่วยเสริมความหลงใหลต่อธรรมชาติที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิต บวกกับพลังงานที่ล้นเหลือที่กิ๊งอยากจะลงมือทำอะไรบางอย่างร่วมกับชุมชนที่เธอมีความผูกพันธ์ตั้งแต่ครั้นยังเด็ก “เรามองว่าสมุทรสงคราม ไม่ได้เป็นทั้งเมืองอุตสาหกรรมหรือเป็นเมืองพักผ่อนยอดนิยมสำหรับคนไทยขนาดนั้น  เพราะเราอาจจะ ไม่ได้มีทั้งภูเขา ไม่ได้มีเกาะ หาดสวย ๆ หรือทะเลที่มีปะการัง แต่สมุทรสงครามก็ยังมีธรรมชาติที่เคียงคู่กับวิถีชีวิตของผู้คน นี่คือสิ่งที่เรามีและโดดเด่นที่สุด มันคือ วิถีชีวิตริมน้ำ”…