Beautiful Plants For Your Interior
Blog
ผู้ร่วมก่อตั้งฟาร์มเกษตรในเมือง เซฟติสท์ ฟาร์ม
ความงามแห่งวิถีชาวสวน กับความทรงจำที่ไม่อาจหวนคืน
คลองบางมด นับว่าเป็นคลองสายย่อยที่มีเส้นทางตรง เมื่อเทียบกับถนนที่มีโค้งอ้อมไปมา ทำให้ในอดีตการสัญจรทางเรือจะประหยัดเวลามากกว่า เพราะพื้นที่ทำมาหากินของผู้คนบางมดส่วนใหญ่ก็จะอยู่ติดริมน้ำ แต่ในสมัยนี้คงหนีไม่พ้นรถราที่แล่นเร็วกว่าเรือยนต์เสียอีก เสียงของ “ลุงวิชัย” หรือ “วิชัย อินสมะพันธ์” เจ้าของสวนมะพร้าวน้ำหอม ได้เล่าย้อนถึงคลองบางมดในสมัยที่ตนยังเป็นเด็ก เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวสวน ในปัจจุบันลุงวิชัยอาศัยอยู่ในคลองบางมดแห่งนี้ และยังคงเป็นชาวสวนที่มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูแลพื้นที่สวนหลังบ้าน ด้วยท่าทางที่แข็งแรง และทะมัดทะแมงเหมือนกับคนวัยหนุ่ม ฝั่งธนฯ เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงนิเวศวัฒนธรรมของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนริมคลองบางมดในอดีตจะใช้แม่น้ำและลำคลองเป็นทางสัญจรหลัก การตั้งถิ่นฐานจึงมีเรื่องราวของวิถีชีวิต เชื้อชาติ ศาสนาที่แตกต่างกัน แต่สามารถกลมกลืนทางวัฒนธรรมประเพณีได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันนี้พื้นที่คลองบางมดยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมอยู่ มีสวนแบบผสมผสาน ทั้งผลไม้ และต้นไม้ยืนต้นอีกหลากหลายชนิด และยังคงรักษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเกษตรสายคลองให้กับคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ “บริเวณนี้ในเวลาต่อมาจะมีการพัฒนาจากเป็นท้องนา ยกเป็นสวน เนื่องจากว่ามีชาวจีนคนหนึ่งนำพันธุ์ส้มเขียวหวานมาปลูก ปรากฏว่าได้ผลดี เนื่องจากว่าดินบริเวณนี้ทั้งหมด เคยเป็นทะเลเก่ามาก่อนและเกิดการทับถมซากหอยซากพืชซากสัตว์เป็นเวลาพันปี ก็จะเป็นดินสีดำและค่อนข้างจะเหนียว ซึ่งส้มเขียวหวานจะชอบ เพราะฉะนั้นส้มเขียวหวานของบางมดจะมีรสชาติที่ต่างจากส้มเขียวหวานที่ปลูกที่อื่น” ส้มบางมด เป็นส้มที่มีชื่อเสียงมานาน ขึ้นชื่อว่าเป็นส้มที่มีรสชาติอร่อยที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ด้วยเสน่ห์ของรสชาติที่หวานอร่อยไม่เหมือนส้มเขียวหวานทั่วไป ในปัจจุบันส้มบางมดแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกส้มบางมด ประสบปัญหาน้ำท่วมหนักหลายครั้งทำให้ต้นส้มถูกน้ำท่วมเป็นเวลานาน เกิดความเสียหาย อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องน้ำเค็มที่เข้ามาทำให้ชาวสวนไม่สามารถปลูกส้มได้อีกต่อไป นั่นจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชาวสวนแถบบางมดต้องหันมาประกอบอาชีพอื่นแทน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ สวนที่เคยปลูกส้มเขียวหวานก็กลับกลายเป็นหมู่บ้านบ้าง และยังมีบ้านจัดสรรหลายโครงการที่รุกคืบเข้ามาในพื้นที่คลองบางมด เมื่อพูดถึงมะพร้าวน้ำหอม ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ผู้คนส่วนใหญ่จะนิยมทานกันสด…
ฟาร์มเกษตรในเมืองที่ฝันให้ผู้คนมีแหล่งอาหารปลอดภัย
ในมุมหนึ่งของทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ยังคงมีพื้นที่สีเขียวสวยงาม และที่แห่งนี้เราจะได้ยินเสียงรถราเบาลง แต่กลับเป็นเสียงเรือแล่นแหวกน้ำแทน น่าแปลกยังมีคนกรุงเทพฯ ที่สัญจรด้วยเรืออยู่ แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม “ปรอ” หรือ “วิไลวรรณ ประทุมวงศ์” ผู้ร่วมก่อตั้งเซฟติสท์ ฟาร์ม (SAFETist Farm) คือหญิงสาวผู้หลงใหลธรรมชาติเงียบสงบ เรียบง่าย และเธอมีความตั้งใจที่จะพัฒนาฟาร์มเกษตรในเมืองให้เป็นโมเดลต้นแบบของชุมชน เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน ผ่านแนวคิดแหล่งผลิตอาหารสดและปลอดภัย “ตอนแรกก็ยังมองไม่ออกว่า คลองบางมดจะเป็นอย่างไร เราก็ได้แต่หวังว่าพื้นที่สีเขียวกับสายน้ำเป็นหน้าที่ของเราต้องดูแล ถ้าเราอยากจะให้เป็นพื้นที่สีเขียวอยู่ต่อไป เราจะต้องทำอะไรบางอย่าง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เราและเพื่อน ๆ อยากจะเชิญชวนคนหลากหลายเข้ามาสัมผัสกับคลองบางมด ได้มาเห็นศักยภาพของชุมชนด้วยตาของเขาเห็น ชวนให้เขาเห็นคุณค่าเศรษฐกิจเชิงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” “คลองบางมด” เป็นคลองย่อยในระบบคลองด่านและคลองบางขุนเทียน จะไหลผ่านในพื้นที่เขตจอมทอง เขตทุ่งครุและเขตบางขุนเทียน มีความยาวประมาณ 15,800 เมตร มีแนวทางน้ำค่อนข้างตรงต่างจากคลองธรรมชาติ แต่บริเวณนี้มีลักษณะคดเคี้ยวสันนิษฐานว่าเป็นคลองที่ขุดขึ้นเพื่อผันน้ำใช้ในการเกษตร “ย้อนไป 40 ปี ที่นี่เป็นทุ่งนา ปลูกส้มได้ ทำสวนก็ได้” ปรอได้บอกเล่าถึงวิถีชีวิตของผู้คนในอดีตที่มีอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ การปลูกส้ม มะพร้าว และพืชสวนครัว ทำให้คนกับน้ำมีความผูกพันกัน คลองบางมดถือว่าเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญในการสัญจรคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างชุมชนต่าง ๆ และเป็นพื้นที่น้ำกร่อยที่รวมความหลากหลายทางชีวภาพเอาไว้…
ทะเลบัวแดง Unseen เมืองอุดรธานี
ฤดูการท่องเที่ยว ทะเลบัวแดง Unseen เมืองอุดรธานี เริ่มแล้วนะคะ ฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม ของทุกปี เป็นช่วงที่เหมาะที่สุดในการล่องเรือชมความงามของดอกบัวแดง หรือบัวสายที่โผล่พ้นน้ำขึ้นขึ้นมาค่ะ River & Me มีโอกาสไปเก็บภาพทะเลบัวแดงสวย ๆ มาฝาก เราไปขึ้นเรือที่ท่าเรือบ้านเดียม กันตั้งแต่ 7 โมงเช้า พอเรือแล่นออกจากท่า ก็จะเห็นนกหลากหลายชนิด ทั้งนกอีโก้ง เหยี่ยว นกเป็ดผีเล็ก ฯลฯ จากนั้นเพียงแค่ 10 นาที เราก็ถึงทะเลบัวแดงบานอวดโฉมให้ชื่นชมสุดลูกหูลูกตา คุณลุงคนขับเรือ ณ ท่าเรือบ้านเดียม เล่าให้ฟังว่า ทะเลบัวแดงเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว หลังจากที่มีการสร้างคันคลองบริเวณหนองหาน เมื่อมีบัวแดงเกิดขึ้นคนในชุมชนที่ปกติมีอาชีพประมงพื้นบ้าน ก็หันมามีอาชีพเสริมก็คือขับเรือพานักท่องเที่ยวมาชมความงามของบัวแดง คุณลุงคนขับเรือยังเล่าติดตลกอีกว่า “ช่วงที่นักท่องเที่ยวมาเยอะ ๆ ตอนเดือนธันวาคม ไม่ได้กินข้าวเลย เพระขับเรือทั้งวัน” เมื่อมีนักท่องเที่ยวมาเยอะขึ้น ชุมชนมีการรวมกลุ่ม พูดคุยและสร้างข้อตกลงร่วมกันว่า จะวิ่งเรือตามเส้นทางที่ปักธงกำหนดไว้เท่านั้น จะได้ไม่วิ่งเรือไปโดนบัวที่กำลังเติบโต และอีกข้อหนึ่งคือจะไม่เด็ดบัวสายในพื้นที่อนุรักษ์ไว้ โดยจะมีพื้นที่ที่คนในชุมชนสามารถเก็บบัวสายได้เพื่อนำไปประกอบอาหาร หรือนำไปขายเพื่อหารายได้ค่ะ…
ป่าชายเลนฟื้นฟูได้ ด้วยความเข้าใจ และทุ่มเทสุดใจ
ในพื้นที่แม่น้ำต่างๆ ที่ไหลลงอ่าวไทยตอนใน โดยเฉพาะทางตอนล่างสุดที่อยู่ชิดชายฝั่งทะเล นับเป็นเขตน้ำกร่อยซึ่งเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ของแนวป่าชายเลน ที่โอบล้อมเขตปากแม่น้ำทางตอนล่างอยู่… พื้นที่ป่าชายเลนนั้น ทั้งงดงามและให้คุณค่า ในการเป็นแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญมากมายหลายชนิด เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารทางธรรมชาติ ตลอดจนเป็นพื้นที่อนุบาลของทรัพยากรสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่มีความสำคัญและมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งต่อสภาวะทรัพยากรประมง ระบบนิเวศป่าชายเลนที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยพรรณพืชนานาชนิด และเส้นทางคูคลองแพรกสาขาต่างๆ ที่อยู่ภายใน ยังนับเป็นบริเวณที่มีศักยภาพสูงในการช่วยกรองของเสีย และบำบัดสารปนเปื้อนจากเขตแผ่นดินที่ไหลลงสู่พื้นที่ปากแม่น้ำ ระบบนิเวศป่าชายเลนจึงเสมือนเป็นระบบบำบัดทางธรรมชาติ ที่ช่วยควบคุมดูแลคุณภาพน้ำให้มีความสมดุล และอยู่ในสภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องได้ ในหนังสือ “แดนปลาทู ถิ่นหอยหลอด วิถีแม่กลอง” ซึ่งเผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2552 คุณวิสูตร นวมศิริ (ผู้นำศูนย์ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ โรงเรียนป่าชายเลน บ้านบางแก้ว) ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญ ของพื้นที่ป่าชายเลนต่อทรัพยากรชายฝั่ง ว่า “เราเติบโตมาได้ก็เพราะทรัพยากรชายฝั่ง ป่าชายเลน มีความสำคัญมาก ๆ จากรุ่น พ่อ แม่ มาสู่รุ่นเรา” อย่างไรก็ตาม ในช่วงประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมา พบรายงานสถานการณ์ของความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าชายเลน ทั้งในเชิงปริมาณ (ซึ่งมีพื้นที่ลดน้อยลงไปอย่างชัดเจน) และในเชิงคุณภาพ (ซึ่งสะท้อนในปริมาณของคุณภาพน้ำและผลผลิตทรัพยากรประมงที่ลดน้อยถอยลงไปอย่างมาก) ในประเด็นดังกล่าว มีผู้รู้หลากหลายท่าน ได้ย้ำให้พวกเราทราบถึงสถานการณ์และปัญหา…
กำนันมนัส แห่งบางสะแก
ความผูกพันจากอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ของ “รองยะ”
พรรณไม้ใต้สายน้ำ คือความงดงาม และคุณค่ามหัศจรรย์
ภายใต้เส้นทางของแม่น้ำสายต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตภูมิภาค ที่มีมวลน้ำค่อนข้างใส หากเราได้พิจารณาดี ๆ จะเห็นว่ามีกลุ่มของพรรณไม้น้ำ มากมาย หลายชนิด เจริญงอกงาม กระจายกันอยู่ ในเขตที่มีแสงส่องลงไปถึง… สิ่งมีชีวิตสีเขียว สดใส งดงาม เหล่านั้น เกิดขึ้นเป็นพื้นพรม อยู่ใต้แผ่นน้ำที่ไหลริน… มีขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง กระจายตัว ผสมผสาน โดยมีปริมาณที่ลดหลั่นกันไป แล้วแต่ลักษณะของชนิดพรรณที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ซึ่งนอกจากจะเกิดปกคลุม บนพื้นผิวดินใต้น้ำนั้นแล้ว… ในแหล่งน้ำใส ที่มีความลึกของน้ำมาก พรรณไม้น้ำหลายชนิด ยังสามารถยืดตัวเองได้สูงเป็นเมตร ขึ้นมาเติบโตงอกงาม กระจายอยู่ในมวลน้ำ … เราได้เรียนรู้กันมาตั้งแต่เล็ก ว่าพืชพรรณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้บนบก หรือพรรณไม้ใต้น้ำ ต่างก็มีศักยภาพในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันสร้างก๊าซออกซิเจน ให้เกิดขึ้นในระบบนิเวศที่มีพืชพรรณเหล่านั้นอยู่ โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง… อย่างไรก็ตาม ในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีก๊าซออกซิเจนที่ละลายอยู่อย่างจำกัดกว่าในชั้นบรรยากาศ… ความแปรปรวนของก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำ จึงเป็นหัวใจ ของความเป็นอยู่… และจัดปัจจัยชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงสถานการณ์คุณภาพน้ำ และโอกาสในการอยู่รอดของสัตว์น้ำทุก ๆ ชนิด ปัจจุบัน…
อยู่ต่อตั้งรับ หรือ ย้ายเมืองหนี?
น้ำท่วมกลายเป็น วิกฤตร่วมกันของคนทั่วโลก โดยเฉพาะในรอบ 2-3 ที่ผ่านมา เราเห็นสถานการณ์น้ำท่วมบ่อยครั้ง ขณะที่บ้านเรากำลังประสบกับอุทกภัย อีกฟากหนึ่งของโลกก็เผชิญกับสถานการณ์ใกล้เคียงกัน จนนำมาสู่การทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วร่วมทศวรรษกันอีกครั้ง นั่นก็คือ “การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” เพราะการเกิดน้ำท่วมในแต่ละครั้งนั้น มักจะมาพร้อมกับภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่พ่วงมาด้วยไม่ว่าจะเป็น การก่อตัวของพายุ และระดับน้ำทะเลหนุนสูง ดูจะรุนแรงและหนักขึ้นในแต่ทุก ๆ ปี เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ณ ขณะนี้วิกฤตจากภัยธรรมชาติ ได้ผสานสอดส่ายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราอย่างแนบสนิทเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะที่เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ที่ต้องเผชิญกับอุทกภัยถี่ขึ้น จนกลายเป็นโจทย์ระดับช้างที่รัฐบาลหลายประเทศต้องหาทางรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและวิกฤตน้ำท่วมเมืองในระยะยาว เราไปติดตามการรับมือของประเทศต่างๆ บางส่วนกันว่าเขามีแนวทางบริหารจัดการอย่างไร? 5 เมืองที่ใกล้จมน้ำ อินโดนีเซียจาก “จาการ์ตา” สู่ “นูซันตารา” แม้ว่าจาการ์ตา จะมีองค์ประกอบครบสำหรับการเป็นเมืองหลวงมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และเพียบพร้อมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมาย แต่จาการ์ตาก็หนีไม่พ้นปัญหาที่เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นความแออัดของผู้คน และปัญหาน้ำท่วมที่เผชิญมาอย่างยาวนาน ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนที่ราบต่ำ โดยเฉพาะทางตอนเหนือของจาการ์ตา ที่กว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จนผู้เชี่ยวชาญถึงกับออกมาประเมินเอาไว้ว่าเมืองทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตากว่าร้อยละ 95 จะจมใต้บาดาลภายในปี 2593 นั่นแค่ในส่วนของทางตอนเหนือของจาการ์ตา แต่หากพูดถึงภาพรวมของทั้งเมือง…
ยกสถานะทะเลสาบให้เป็น “บุคคล”
ยกสถานะทะเลสาบให้เป็น “บุคคล”ครั้งแรกในยุโรปที่กฎหมายยกระดับทะเลสาบให้มีสถานะเทียบเท่าบุคคล กฎหมายเพื่อการอนุรักษ์ก้าวหน้าไปอีกขั้นในยุโรป และถือเป็นครั้งแรกที่กฎหมายสามารถมอบสถานะทะเลสาบน้ำเค็มให้มีสถานะเทียบเท่าบุคคล ในประเทศสเปนมีทะเลสาบน้ำเค็มสำคัญ ชื่อ Mar Menor ถือเป็นแหล่งรักษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ทะเลไว้มากมาย ทั้งหอยแมลงภู่ใบพัด และบรรดาหอยสองฝาที่มีขนาดยาวเกือบเมตร สัตว์เหล่านี้ถือเป็นสัตว์ที่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์และมีเฉพาะถิ่นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม Mar Menor เป็นพื้นที่มีความเปราะบางมาก ช่วงปี 2016 ทะเลสาบแห่งนี้เกิดปรากฏการณ์สาหร่ายบูม และมีการปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ทำการเกษตร ทำให้สัตว์น้ำกว่า 98% ตายเกลื่อนอย่างน่าเสียดาย นอกจากจะสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ยังส่งผลต่อจิตใจชาวเมืองเป็นอย่างมาก หากไม่ลุกขึ้นมาเรียกร้องอะไร Mar Menor ก็อาจจะเป็นสุสานทางทะเลที่ไร้สรรพชีวิต การเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์ขับเคลื่อนด้วยนักวิชาการร่วมกับคนในชุมชน โดยการร่วมลงรายชื่อเพื่อเสนอให้มีการร่างกฏหมายยกให้พื้นที่ทะเลสาบน้ำเค็ม 135 ตารางกิโลเมตร ให้มีสถานะเป็นบุคคล (personhood) กระแสตอบรับดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีชาวสเปนลงชื่อว่า 640,000 คน แม้ Mar Menor จะได้รับสถานะเป็นบุคคล แต่ในเชิงกฎหมายก็ไม่ได้เทียบเท่ากับสิทธิของมนุษย์จริง ๆ แต่มีรายละเอียดที่น่าสนใจคือ ระบบนิเวศของทะเลสาบแห่งนี้จะได้รับปกป้องให้ดำรงอยู่ มีวิวัตนาการ และได้รับการฟื้นฟูเสมือนเป็นบุคคลหนึ่ง ต้องมีผู้ปกครองตามกฎหมาย (legal guardians) มีคณะกรรมการในการดูแลปกป้อง และคัดค้าน…
วิ่งที่ไหน ก็ไม่เหมือนกัน
วิ่งที่ไหน ก็ไม่เหมือนกันเมื่อชุมชนลงขัน จัดงานวิ่งในสวนส้มโอ ขาวิ่งหลายคน น่าจะเคยผ่านมาแล้วหลายสนาม แต่เชื่อเลยครับว่าหากได้ลองมาสัมผัสกับสนามวิ่งแห่งนี้ อาจจะได้ลิ้มลองรสชาติการวิ่งที่หาไม่ได้จากสนามไหน เพราะเป็นงานที่คนใจใหญ่ จากชุมชนเล็ก ๆ ที่ ต.บางสะแก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ระดมพลกันจัดงานวิ่งขึ้นมาในชื่อ พอเมโล รัน (Pomelo Run) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เสน่ห์ของงานเป็นการจัดงานโดยคนในชุมชนจริง ๆ แบบไม่ต้องพึ่งออแกไนเซอร์ ทำให้การจัดงานวิ่งครั้งนี้เป็นความต้องการจากคนในชุมชนจริง ๆ ขาวิ่งทั้งหลายจะได้พบกับเสน่ห์ของงานวิ่งที่มีกลิ่นอายของภูมิปัญญาของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ผ่านตามเส้นทางวิ่งในสวนส้มโอ วิ่งไปพร้อมกับความรื่นรมย์ของธรรมชาติ 2 ข้างทาง และยังได้ลิ้มรสส้มโออร่อยแบบไม่อั้น จากสวนที่บางสะแก กันแบบสด ๆ อีกด้วย ด้วยความที่ชุมชนเป็นแม่งานใหญ่ มีหรือที่จะพลาดของกินที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น งานนี้ผู้เฒ่าผู้แก่เตรียมเปิดครัวต้อนรับนักวิ่งทั้งหลาย ด้วยขนมรุม-ขนมวง ขนมโบราณประจำท้องถิ่นจากฝีมือต้นตำหรับ นอกจากนี้ชุมชนยังจัดเมนูอาหารและขนมอื่น ๆ เตรียมเสริฟนักวิ่งกันแบบฟรี ๆ ตลอดเส้นทาง ชวนชิมส้มโอรสดีที่ “บางสะแก” ต้องบอกก่อนเลยว่าที่บางสะแก แม้จะเป็นตำบลเล็ก ๆ…